วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

DIY Santa Claus Origami

Santa Claus Origami 


ปีนี้อากาศหนาวเย็นต่อเนื่องมาหลายวันแล้ว เสียดายบ้านเราไม่มีหิมะเหมือนเวียดนาม
แต่ไม่เป็นไรค่ะ อากาศหนาวๆแบบนี้ ซานตาคลอสก็เกิดที่บ้านเราได้เหมือนกัน
ว่าแล้วก็ชวนลูกพับกระดาษรูปซานตาคลอสสีแดงสดใส ให้เป็นของขวัญเพื่อนๆในวันคริสมาต์กันค่ะ 



ขั้นตอนการทำ




The making of Santa 


Claus's body:




source : http://theideaking.blogspot.comimg : The Idea King 生活智慧王


วิธีทำสตูดิโอด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ

วิธีทำสตูดิโอแบบพกพาด้วยตัวเอง


เราจะมาลองทำสตูดิโอพกพาใน แบบง่ายๆ และราคาประหยัด กันเองดูบ้าง หน้าตาอาจจะไม่ดูดีนัก แต่รับรองว่าผลงานออกมาสวยแน่นอน สิ่งที่ต้องใช้ก็มี
  • กล่องลังกระดาษ 
  • กระดาษสีขาว 
  • โคมไฟ 
  • สก็อตเทปใส 
  • อุปกรณ์ถ่ายภาพ (กล้องดิจิตอล หรือกล้องมือถือก็แล้วแต่)
สตูดิโอ

เราจะเริ่มจากการนำกล่องลังกระดาษมาพับมุมทั้ง 3 ด้านเข้าไปด้านในของกล่อง แปะกระดาษสีขาวไว้ด้านใน เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อย ลองจัดไฟถ่าย ภาพได้เลย



ขอบคุณเทคนิคง่ายๆ จากหนังสือ ถ่ายยังไง ให้ขายดี
ถ่ายยังไงให้ขายดี
ถ่ายภาพและสร้างสรรค์มุมมองแปลกใหม่ให้สินค้าเด่นกว่าใคร ขายดีที่สุดในสามโลก
ผู้เขียน จตุรงค์ ศรีวิลาศ

วิธีสลัดเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไร้สาระออกจากใจ

วิธีสลัด เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไร้สาระออกจากใจ
 
การที่เราใส่ใจหรือว่าถือสาหาความกับ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น การถูกขับรถปาดหน้า ถูกหัวเราะเยาะหรือถูกนินทานั้น ทำให้เราเสียพลังในตัวไปโดยใช่เหตุ ถ้าหากเรารู้จักมองข้ามหรือไม่ใส่ใจ ปัญหาจุกจิกกวนใจเหล่านี้ เราก็จะเหลือพลังสำรองเอาไว้ใช้ในชีวิต เพื่อสร้างคุณภาพที่ดีให้กับชีวิตตนเองอีกมากมายเลย  วันนี้เราก็จะมาพูดเรื่อง วิธีสลัดเรื่องน้อยสาระออกจากใจ เพื่อที่เรื่องน้อยสาระเหล่านั้น จะได้ไม่มาเป็นปัญหาให้เรารกสมองนั่นเอง Richard Carlson นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาของชาวอเมริกา ได้เขียนเรื่องหนึ่งชื่อ “Don’t Sweat the small Stuff” ความหมายก็คือว่า อย่าไปเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่องเลย

นิสัยเสียๆ 13 อย่าง ที่ต้องแก้ไข 
1.ความคิดที่ว่าเมื่อประสบปัญหาต้องรีบแก้ไขทันที ปัญหานั้นมีมากมาย แต่เมื่อในมุมของจุดที่เกิดปัญหา ก็จะเกิดจิตใจที่ไม่พร้อม มีทั้งความเครียดความสับสนอลหม่าน ในความคิดตอนนั้นเป็นความคิดขณะที่จิตไม่สงบ แล้วก็ทำให้ผลลัพธ์ของความคิดไม่ตกตะกอน ก็เลยอาจะก่อให้เกิดปัญหาที่ว่า “คิดสั้น” นั่นเอง ซึ่ง Carlson ได้แนะนำให้หยุดคิดแล้วปล่อยวาง ให้จิตใจสงบก่อนแล้วค่อยๆแก้ไปทีละนิดๆ แล้วให้ทำตอนที่ใจสงบ  
2.หงุดหงิดรำคาญใจทุกสิ่งทุกอย่างขัดหูขัดตาไปหมด ไม่ได้ดั่งใจเอาเสียเลย วิธีแก้คือต้องมองความแตกต่างของสิ่งต่างๆ แต่ละด้านมุมมองต่างๆย่อมแตกต่างกันได้ ให้ยอมรับในความแตกต่างนั้นแล้วก็ปล่อยวาง เพราะไม่มีใครสมบูรณ์แบบ
3.บ้างาน คิดว่าตนเองมีงานล้นมือ  ข้อเสียคือ เค้าไม่มีเวลาตั้งสติ แล้วก็มีความคิดแบบพิจารณาให้รอบด้าน เพราะฉะนั้นเนื้องานก็จะสะเปะสะปะ วิธีแก้คือ ต้องมีเวลาในการที่จะหยุด แล้วก็เวลาที่จะมองในเชิงวิเคราะห์ ทำใจให้สงบนิ่ง ให้แยกเวลาระหว่างเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว เพื่อจะให้จิตนั้นได้คลายแล้วก็เกิดความคิดใหม่เข้ามา ทุกอย่างมีแต่ความรีบเร่งจน ไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง 
4.คิดเอาตัวเองเป็นใหญ่และคิดอาฆาตแค้นพยาบาทคนตลอดเวลา วิธีแก้นั้นก็คือต้องยอมรับว่าแต่ละคนนั้นไม่สมบูรณ์ แต่ละคนนั้นยังมีความคิดที่ปองร้ายอาฆาตพยาบาท มองตัวเองเป็นใหญ่ เหมือนกันเหมือนกับตัวเรา ก็เราคิดแบบนั้น คนในโลกนี้ก็ต้องมีคิดแบบนี้เหมือนๆกับเรา คือเราไม่มีสิทธิ์ที่จะไปตัดสินชีวิตคนอื่น ตัวเรายังเป็นเลย คนอื่นก็เป็นเหมือนๆ กัน 
5. คิดดูถูกผู้อื่น และชี้ถูกชี้ผิดอยู่ตลอดเวลา วิธีแก้ก็คือเราก็คิดอีกมุมหนึ่ง เข้าไปนั่งในใจเขาแล้วก็คิดในมุมของเขาบ้าง ก็คือเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง
รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com
6.คิดเอาชนะผู้อื่น วิธีแก้ก็คือ หัดเป็นผู้ฟังที่ดีบ้าง เราจะได้มุมมองใหม่ๆ เปลี่ยนวิธีคิดให้กลายเป็นผู้ฟังบ้าง
7.คิดทวงบุญคุณจากผู้อื่น วิธีแก้ก็คือถ้าจะทำให้สุขภาพจิตใจดีขึ้น เวลาช่วยใครให้ช่วยอย่างสุดหัวใจแล้วก็ไม่มีความคิดที่จะเอาอะไรจากเขาเลย ให้คิดแบบจิตอาสาโดยไม่ได้หวังอะไรตอบแทน
8. คิดกังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง วิธีแก้ก็คือ ให้ออกจากความกังวล ให้เราอยู่กับปัจจุบัน อนาคตเอาไว้เพื่อที่จะให้เราได้เตรียมความพร้อมมากกว่า แต่ไม่ใช่ให้เรากังวล ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อะไรจะเกิดก็ปล่อยมันไป อย่าไปคาดการณ์ล่วงหน้ามากนัก
9.คิดน้อยใจในโชคชะตาของตัวเอง วิธีแก้ก็คือให้เราพึงพอใจในสิ่งที่เรามี แล้วก็ไปพัฒนาให้เกิดจุดเด่นขึ้น ถ้าเรารู้ว่าเรามีจุดเด่นตรงไหนก็พัฒนาให้เป็นจุดแข็งขึ้นมา แต่ถ้าไม่มีก็สร้างจุดเด่นขึ้นมา จากสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้ดีกว่าผู้อื่น
10.นิสัยมองโลกในแง่ร้าย และคิดว่ามนุษย์ทุกคนล้วนเห็นแก่ตัว วิธีแก้ก็คือ จริงๆแล้วทุกวันนี้โลกเรา เราไม่ได้เกิดอยู่รอดได้ด้วยตัวคนเดียว ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นตลอดเวลา แล้วก็ความจริงแล้วเรามีประสบการณ์ดีๆที่ได้จากผู้อื่นก็ให้มองตรงจุดนั้น ว่าบางครั้งเราได้คนอื่นมาช่วยอย่างไร ให้เรามองประสบการณ์ดีๆตรงนั้นแล้วเราจะรู้จักให้อภัย รู้จักเคารพ ความรัก ความเมตตา มองโลกอย่างสันติสุข
11.คิดว่าโลกนี้มีแต่ปัญหาเต็มไปหมด แก้เท่าไหร่ก็ไม่หมดเสียที เพราะฉะนั้นวิธีแก้ก็คือถ้าเราเจอปัญหาต้องรีบข้าม  เพราะเมื่อข้ามไปแล้วมันเหมือนความสำเร็จมันจะเกิด ก็คือปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ได้มีไว้ให้ทุกข์
12. คิดว่าเราเก่งกว่าผู้อื่น ฉลาดกว่าผู้อื่น หรือร่ำรวยกว่าผู้อื่น ความคิดเช่นนี้ จะส่งผลให้พฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นไปตามนั้น วิธีแก้ก็คือ เราต้องมองในมุมว่า เราพร้อมที่จะรับฟังคนอื่น แล้วเราก็กระหายอยู่ตลอดเวลาที่อยากจะรู้ อยากที่จะศึกษาเพิ่ม ที่จะเรียนรู้เพิ่ม ที่จะทำสิ่งนั้นให้ดีกว่าเดิม
13.การด่าทอ เหน็บแหนม ประชดประชัน และวิพากษ์วิจารณ์ เป็นอกุศลวาจา ที่สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้ผู้อื่น วิธีแก้ง่ายๆก็คือ เวลาเราจะคิดจะพูดจะทำอะไร ให้เราคิดว่า
  • มันทำให้ความดีของเราเพิ่มรึเปล่า
  • มันทำให้สติปัญญาเราเพิ่มขึ้นไหม
  • มันทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นไหม
  • มันทำให้เรารวยเพิ่มขึ้นหรือเปล่า

ถ้ามันไม่เข้าข่าย 4 ข้อนี้อย่าไปทำ ให้เลิกเลย เพราะมันเป็นความไร้สาระ ทำให้เสียเวลาและรกสมอง

จากนิสัย 13 ข้อ จะเห็นได้ว่าการที่เราคิดร้าย พูดร้าย หรือทำร้ายๆ มันเป็นทุกข์ที่ใจเราก่อนเพื่อน ถ้าเกิดเราอยากมีความสุขและมีพลังในตัว เราก็เลิกซะนิสัยไม่ดี เพราะว่าพลังงานในตัวของเราเหมือนเงินในกระเป๋า เวลาเราเอาไปใช้สุรุ่ยสุร่ายแล้วเวลาเราต้องการใช้จริงๆ ก็จะหมด เพราะฉะนั้นเราต้องคิดดี พูดดี ทำดี ดีกว่า

วันสำคัญทางศาสนา : วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา





          วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, อังกฤษ: Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆို) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

ความสำคัญ
  • ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
  • หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
  • เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา
  • เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
  • เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

ประเพณีเนื่องด้วยการเข้าพรรษาในประเทศไทย

ประเพณีถวายเทียนพรรษา

          การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ แต่ในปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่จะนิยมการซื้อหาเทียนพรรษาจากร้านสังฆภัณฑ์ โดยบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างถวายแก่พระสงฆ์แทนด้วย ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยตรง เพราะปัจจุบันไม่ได้มีการนำเทียนมาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงนำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น

ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

          ผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย "ผ้าวัสสิกสาฏก" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยปรากฏสาเหตุความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝนในพระไตรปิฎก

ศิลปินแห่งชาติ : สรพงศ์ ชาตรี

สรพงศ์ ชาตรี





          สรพงศ์ ชาตรี หรือชื่อจริง กรีพงศ์ เทียมเศวต  นักแสดงชายอันดับหนึ่งของไทย ผุ้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ในปี พ.ศ. 2551 และในปี พ.ศ. 2552 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ศิลปศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารมี อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

          สรพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จบชั้น ป.4 แล้วบวชเรียนตั้งแต่อายุ 8 ปี ที่วัดเทพสุวรรณ พระนครศรีอยุธยา และวัดดาวดึงส์ บางยี่ขัน ธนบุรี จนกระทั่งลาสิกขาบทเมื่อ พ.ศ. 2512

          สรพงศ์ ชาตรี มีบุตรทั้งหมด 4 คน คือ พิมพ์อัปสร (ขวัญ), พิศุทธินี (เอิง), พิศรุตม์ (เอม) และพิทธกฤต เทียมเศวต (อั้ม) ซึ่งพิมพ์อัปสร บุตรคนแรกเกิดแต่ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ส่วนบุตรคนที่สองถึงสี่เกิดแต่พิมพ์จันทร์ ใจวงศ์ (แอ๊ด) ปัจจุบันสมรสกับ ดวงเดือน จิไธสงค์ รองมิสไทยแลนด์เวิลด์ พ.ศ. 2529 และรองนางสาวไทยพ.ศ. 2530

การเริ่มงานแสดง
          สรพงศ์ เริ่มงานแสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 เป็นตัวประกอบ และเป็นเด็กยกของในกองถ่ายละครเรื่อง นางไพรตานี ฉายทางช่อง 7 และเล่นเป็นตัวประกอบในละคร ห้องสีชมพู และ หมอผี ซึ่งหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นผู้กำกับหลังจากเดินทางกลับจากเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา
ชื่อ สรพงศ์ ชาตรี ที่ใช้ในการแสดง ผู้ตั้งให้คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา โดยคำว่า "สร" มาจาก อนุสรมงคลการ, "พงศ์" มาจาก สุรพงศ์ โปร่งมณี (ผู้พามาฝากตัวกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม) และ "ชาตรี" มาจาก ชาตรีเฉลิม
          
          สรพงศ์ ชาตรี รับบทพระเอกครั้งแรก ในภาพยนตร์เรื่อง มันมากับความมืด (พ.ศ. 2514) ผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม จากนั้นได้รับบทในภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม แทบทุกเรื่อง ทั้งบทพระเอก พระรอง ตัวประกอบ และเป็นผู้ช่วยผู้กำกับในบางครั้ง มีผลงานแสดงกว่า 500 เรื่อง ได้รางวัลตุ๊กตาทองครั้งแรกจากเรื่อง ชีวิตบัดซบ และ สัตว์มนุษย์ สองปีติดต่อกัน และมีชื่อเสียงในต่างประเทศจากเรื่อง แผลเก่า (พ.ศ. 2520) กำกับโดยเชิด ทรงศรี นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุด
          
          สรพงศ์ ได้รับรางวัลทางการแสดงจากหลายสถาบัน เช่น รางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ดารานำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง สัตว์มนุษย์ ชีวิตบัดซบ มือปืน มือปืน 2 สาละวิน เสียดาย 2 รางวัลสุพรรณหงส์ ดารานำชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ถ้าเธอยังมีรัก มือปืน และนักแสดงประกอบชายจากเรื่อง องค์บาก 2 ส่วนรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นักแสดงชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง มือปืน 2 สาละวิน




วันเด็ก : เทศกาลฮินะ (Hina Matsuri)

 เทศกาลฮินะ (Hina Matsuri)




          เทศกาลฮินะ (Hina Matsuri) หรือ ฮินะ มัตสุริ เทศกาลนี้จะมีการจัดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม เป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยเอโดะ (Edo: 1603-1867) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองของเด็กผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่น โดยจะมีการตกแต่งตุ๊กตาญี่ปุ่นที่สวยงามหลายตัวบนชั้นวาง ที่ตั้งอยู่ภายในบ้าน ตามความเชื่อที่ว่าจะทำให้ลูกสาวมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข บางครั้งเรียกเทศกาลนี้ว่า เทศกาลเด็กผู้หญิง (Girl's Festival) ชาวญี่ปุ่นรับเทศกาลนี้มาจากธรรมเนียมจีน ตามความเชื่อว่า จะสามารถขจัดเคราะห์ร้ายให้ไปกับตุ๊กตาได้ โดยปล่อยตุ๊กตาลอยไปกับแม่น้ำ ส่วนในประเทศญี่ปุ่น จะถือว่าเป็นเทศกาลของการอธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุข ขจัดพลังชั่วร้ายออกไปจากชีวิต ประสบความสำเร็จ สุขภาพร่างกายแข็งแรง และสวยงาม

           เด็กผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลฮินะครั้งแรก จะถูกเรียกว่า "ฮัตสุ เซกุ" (hatzu-zekku) โดยจะเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ย่าหรือยาย เพราะพวกเธอจะซื้อตุ๊กตามาจัดโชว์ให้กับหลานสาว โดยจะเริ่มนำตุ๊กตามาทำความสะอาดตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ จนกระทั่งเมื่อถึงวันที่ 3 มีนาคม ก็จะนำตุ๊กตาฮินะหรือ ฮินะนิงโย (hinaningyo) มาตั้งโชว์ ซึ่งเป็นตุ๊กตาที่ทำด้วยมือแบบดั้งเดิม วางไว้บนชั้นปกติจะมีทั้งหมด 7 ชั้น รอบๆ ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก และเค้ก ที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมกิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และคิราชิซูชิ (chirashi sushi) ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องนำมาวางในชั้น คือ ตุ๊กตา เจ้าชายโอไดริ-ซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะ-ซามะ (Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้ จะถูกวางไว้บนสุดของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลอง



          


          ว่ากันว่าจำนวนชั้นจะมากหรือน้อยนั้น ก็เป็นการแสดงถึงฐานะของแต่ละบ้าน ซึ่งระดับจะสูงสุดที่ประมาณ 7 ขั้น จำนวนตุ๊กตาและการตกแต่งจัดเครื่องแต่งกายให้กับตุ๊กตาก็เป็นการแสดงออกถึง ฐานะเช่นกัน โดยทั่วไปในหนึ่งเซทจะมีประมาณ 15 ตัว เป็นตุ๊กตาชาววังที่เริ่มตั้งแต่ จักรพรรดิ จักรพรรดินี เจ้าชาย เจ้าหญิง ผู้รับใช้ ฯลฯ ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ

          ในยุคแรกๆ การตั้งตุ๊กตาเป็นประเพณีของผู้มีอันจะกิน หลักๆ จะเป็นตุ๊กตาเจ้าชายและเจ้าหญิง โดยในสมัยโบราณนั้นจะมีการจัดทำตุ๊กตาฮินะขึ้นจากวัสดุพวกไม้กระดาษที่ทำ ขึ้นมาอย่างง่ายๆ แล้วนำไปใส่กระด้งเล็กๆ ลอยแม่น้ำหรือทะเลเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ภาวนาให้ลูกสาวของบ้านนั้นเติบโตขึ้นโดยมีสุขภาพแข็งแรง หลังจากนั้นก็ได้รับความนิยมเรื่อยมาจนเกิดเป็นประเพณีของผู้คนทุกฐานะ และเริ่มตกแต่ง ประดับประดา จัดทำเครื่องแต่งกายให้สวยงามมากขึ้น ใช้วัสดุที่ดีอย่างผ้าไหมตัดเป็นเครื่องแต่งกายให้ตุ๊กตาในชุดกิโมโนเต็มยศ แบบโบราณ ซึ่งบางบ้านเป็นตุ๊กตาประจำตระกูลที่สืบทอดต่อๆ กันมาหลายร้อยปี มีการบูชาและถวายเครื่องเซ่นต่างๆ ทั้งขนมหวานที่ชื่อว่า " อาราเร่ " และขนมที่ทำมาจากข้าวเหนียว " คาชิวะ โมจิ " หรืออาจจะเป็นเค้กที่ทำจากข้าว พร้อมเครื่องดื่มพวกเหล้าขาวอย่าง " ชิโรสาเก " และบูชาด้วยดอกไม้อย่างดอกท้อ เทศกาลน่ารักๆ นี้ แต่ละครอบครัวที่มีลูกสาวจะเลี้ยงฉลองพิธีนี้อย่างตั้งใจ มีการดื่มฉลองแสดงความยินดีและอวยพรให้เติบโตอย่างมีความสุข และในปัจจุบันก็เปิดโอกาสให้มีการสังสรรค์กันในกลุ่มเพื่อนๆ เพิ่มขึ้น คืออาจจะชวนกันมาจัดปาร์ตี้กลางแจ้ง ทานอาหารร่วมกันที่บ้าน ซึ่งนับเป็นอีกเทศกาลหนึ่งที่สามารถสร้างรอยยิ้ม สร้างความสุข และสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับคนในครอบครัว



เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ตามความเชื่อในเทศกาลฮินะ มัตสึริ (Hina matsuri)
1.  มีความเชื่อกันว่าถ้าบ้านไหนจัดบูชาตุ๊กตาในวันที่ 3 มีนาคมแล้วนั้น หากพ้นวันนี้ไปแล้วต้องรีบเก็บตุ๊กตาทันที เพราะหากประดับทิ้งไว้นานๆ จะทำให้ลูกสาวขึ้นคานได้ แต่ก็มีอีกความเชื่อหนึ่งที่กล่าวว่า จะตั้งตุ๊กตาฮินะประดับไว้จนถึงวันเด็กผู้ชายในวันที่ 5 พฤษภาคม เพื่อเป็นการฉลองต่อเนื่องกันไปเลย จากนั้นจึงค่อยเก็บให้เรียบร้อยเพื่อนำออกมาประดับในปีต่อๆไป
2.  เทศกาลฮินะ มัตสุริ (Hina Matsuri) มีชื่อเรียกด้วยกันหลายชื่อ เช่น โมโมโนะเซกุ (Momo-no-Sekku) เทศกาลตุ๊กตา (Doll's Festival) เทศกาลเด็กผู้หญิง (Girl's Festival) 
3.  ฮินะ มัตสุริ (Hina Matsuri) มาจากคำว่า ฮินะ (Hina) ซึ่งเป็นคำโบราณที่ หมายถึง ตุ๊กตา ส่วนคำว่า มัตสุริ (Matsuri) หมายถึง เทศกาล

ที่มา : https://www.his-bkk.com/th/article/article_2.php

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีปอยส่างลอง






          ประเพณีปอยส่างลอง หรือที่เรียกว่า “งานบวชลูกแก้ว” เป็นงานประเพณีประจำของชาวไต หรือไทยใหญ่ ซึ่งได้มีการจัดสืบทอดกันมายาวนาน คำว่า "ปอย" แปลว่า "งาน" ซึ่งหมายถึง งานเทศกาล งานรื่นเริง งานมงคลต่าง ๆ "ส่าง" แปลว่า "พระ-เณร" และ "ลอง" มาจาก คำว่า "อะลอง" แปลว่า "กษัตริย์ ราชา เกี่ยวกับเจ้าแผ่นดิน" เมื่อรวมกันก็หมายถึง งานเตรียมบวชเป็นพระเณรของเด็กที่แต่งตัวเป็นกษัตริย์หรือราชานั่นเอง
          โดยงาน “ปอยส่างลอง” นี้ จะนิยมจัดในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคมของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ชาวบ้านมีเวลาว่างเว้น หลังจากเก็บเกี่ยวผืชผลเกษตรในไร่นาแล้วเสร็จ ประกอบกับเป็นช่วงปิดเทอมปิดภาคเรียนของเด็กๆ สาเหตุที่ชาวไทยใหญ่ได้จัดงานนี้ก็เพราะต้องการให้บุตรหลานได้มีโอกาสบรรพชา เป็นพระภิกษุสามเณรเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่าชายชาวไทยใหญ่ที่นับถือพระพุทธศาสนา ล้วนจะได้ผ่านการบวชเป็นพระหรือสามเณรจากงานประเพณีปอยส่างลองนี้กันมาแทบ ทั้งสิ้น



ขั้นตอนการจัดงานปอยส่างลอง

          ก่อนถึงวันประเพณีปอยส่างลอง อย่างน้อย 10 วัน พ่อแม่จะนำเด็กที่จะเข้ารับการบวช ไปฝากไว้กับหลวงพ่อ หรือพระอาจารย์ที่วัด เพื่อรับการฝึกสอนคำรับศีล คำให้พร คำขอบวช รวมถึงการกราบไว้
          วันแรกของปอยส่างลอง หรือ ที่เรียกกันว่า วันเอาส่างลอง หลังจากส่างลองได้ทำพิธีรับศีลแล้ว ผู้เป็นพ่อแม่รวมถึงเจ้าภาพจะจัดเลี้ยงอาหาร 12 อย่าง เป็นมื้อแรกแก่ส่างลอง จากนั้นจะนำส่างลองแห่รอบวิหาร 3 รอบ และแห่ไปกราบคารวะศาลหลักเมือง จากนั้น ในช่วงบ่ายก็จะนำส่างลองไปคารวะตามวัดต่างๆ
          วันที่สอง หรือ "วันรับแขก" ทั้งส่างลอง และเจ้าภาพ จะคอยให้การต้อนรับแขกจากที่ต่างๆ ที่ได้มีการเชิญไว้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งจะมาร่วมทำบุญด้วย ซึ่งวันนี้จะเป็นวันที่มีการเลี้ยงฉลองแขกและญาติๆ ที่มาร่วมงานอย่างสนุกสนาน
          วันสุดท้าย คือ "วันบวช" พิธีของวันนี้จะเริ่มด้วยการนำส่างลองไปแห่รอบวิหาร 3 - 7 รอบ จากนั้นจะนำส่างลองขึ้นวัดเพื่อขออนุญาตทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่ เมื่อท่านเจ้าอาวาส หรือพระผู้ใหญ่ได้อนุญาตแล้ว ส่างลองก็จะพร้อมกันกล่าวคำบรรพชาและอาราธนาศีล แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดเสื้อผ้าส่างลองที่สวยงามมาเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง และเป็นพระภิกษุ - สามเณรอย่างสมบูรณ์


องค์ประกอบงานบวช “ปอยส่างลอง” 
1. ชุดส่างลอง (เครื่องแต่งกายต่างๆ)
2. ร่มทอง (สำหรับกางให้ส่างลอง)
3. ตะแป - พ่อส้าน แม่ส้าน (ผู้คอยปรนนิบัตร)
4. จีวร 
5. อัฐบริขาร (ประกอบด้วย เครื่องใช้ต่างๆ)
6. ต้นเงิน
7. สังฆทาน
8. ต้นข้าวตอก หรือ ต้นข้าวแตก


ที่มา : http://www.khonkhurtai.org/

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

Data Communication for Mass Communication

Communication



ความหมายของการสื่อสาร
             การสื่อสาร หมายถึง การส่งผ่านข้อมูลข่าวสาร (Information) ที่มีความหมายในตัวเอง จากจุดหนึ่ง คือ "ผู้ส่ง (Sender)" ไปยังอีกจุดหนึ่ง คือ "ผู้รับ (Receiver)" โดยผ่าน "สื่อกลาง (Media)" ในการสื่อสารอย่างใดอย่างหนึ่ง




องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสารจะสมบรูณ์ จะต้องประกอบด้วย
1.ผู้ส่ง (Sender)
2.ผู้รับ (Receiver)
3.สื่อกลาง (Media)
4.ข้อตกลงในการติดต่อสื่อสาร (Protocol)